หลายคนฟังข่าวเรื่องของนักบอล แล้วคงสงสัยเรื่องการตรวจวินิจฉัย
การตรวจกรองเพื่อหาโรค เราจำเป็นจะต้องหาวิธีให้มีความไวสูงสุด เพื่อไม่ให้หลุด
ยกตัวอย่างการตรวจกรองเลือดผู้มาบริจาคโลหิต เราต้องการความไวสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบบ B C และ HIV
ในทำนองเดียวกัน covid-19 การตรวจกรองผู้อยู่ใน state quarantine เราจึงจำเป็นต้องใช้วิธีที่มีความไวสูงมาก คือ real time PCR วิธีนี้เป็นการตรวจหา RNA ของไวรัส ในการขยายสารพันธุกรรมเป็นล้านล้านเท่า เพื่อตรวจจับ จึงมีความไวสูงมาก แต่สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลบวกปลอม แต่ถึงมีผลบวกปลอมและมีการยืนยันต่อมาก็ยังดีกว่าที่จะให้เกิดผลลบปลอม เพราะจะทำให้โรคโควิด 19 หลุดรอดไปได้
ในการตรวจเพื่อการรักษา เราจำเป็นจะต้องมีความจำเพาะสูง เพื่อจะได้ไม่รักษาผิด
ในกรณีของนักฟุตบอล เป็นที่น่าสนใจมาก การตรวจจากต้นทาง ไม่พบเชื้อ เราไม่ทราบว่าตรวจด้วยวิธีอะไร การตรวจที่ ASQ Alternative state quarantine ใช้วิธี real-time RT PCR ความไวค่อนข้างสูง ถ้าหลุดรอด ผู้นั้นจะต้องมีเชื้อน้อยมากมาก โอกาสติดผู้อื่นจะยิ่งน้อยมาก แต่เมื่อพ้น state quarantine ไปแล้วประมาณ 10 วัน การตรวจมีการพบ RNA ของไวรัส แต่เมื่อผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาล อีก 3 วันต่อมา การตรวจไม่พบไวรัสหรือ RNA และอีก 3 วันต่อมา ก็ไม่พบ RNA อีกเป็นครั้งที่ 2 และการตรวจภูมิต้านทานของผู้ป่วยรายนี้ ก็ไม่พบทั้ง IgG IgM IgA น่าจะต้องมีการติดตามต่อไป ถ้ามีการติดเชื้อจริง น่าจะตรวจพบภูมิต้านทานเกิดขึ้น
แต่ขณะนี้เราบอกได้เพียงว่า 6 วันหลังตรวจพบเชื้อ เราตรวจไม่พบภูมิต้านทาน ด้วยวิธีการหลายวิธี
การดูแลผู้ป่วยหรือการควบคุมการระบาด บางครั้งเราจะไม่แปลผลจากกระดาษแผ่นเดียว เราคงจะต้องดูจากกระดาษหลายๆแผ่น ประวัติผู้ป่วย และข้อมูลทางคลินิก รวมทั้งความเป็นไปได้ต่างๆมาประกอบกัน ถึงจะบอกได้ว่าโอกาสที่จะติดโรคไปสู่ผู้อื่นมากน้อยแค่ไหน
การติดเชื้อเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริง ความผิดพลาดในการตรวจต่างๆรวมทั้งความไว ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเพราะทุกอย่างไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์
ความรู้จะเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการต่อสู้กับ โควิด 19
เลยอยากเชิญชวน และบอกต่อถึงบุตรหลาน มาช่วยกันเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์ ที่ ผม กับ อาจารย์ ยืน ทำขึ้น บทเรียนชื่อ โควิด 19 และระบาดวิทยา
https://learningcovid.ku.ac.th
เรียนจบมีประกาศนียบัตรดิจิทัลให้ด้วย

Total Page Visits: 1339 - Today Page Visits: 2