การตรวจเลือดในสถานการณ์ระลอกสอง
เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาแอนตี้บอดี้ ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแต่ทราบสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศเท่านั้นแต่สามารถนำมาจำกัดการแพร่ได้
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
26/3/63
เพิ่มเติม 20/12/63
สถานการณ์ระลอก 2
การตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ ประกอบด้วยการสร้างแอนตี้บอดี้ IgM IgG และ ในภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะมีส่วนที่สามารถยับยั้งไวรัสได้ เรียกว่า neutralizing antibody (NT)
แต่ในผู้ติดเชื้อ covid19 จำนวน 98 รายในเดือน เมษายน และพฤษภาคม พบว่า ผู้ป่วยมี NT อยู่ตั้งแต่ต้นแล้ว ทั้งกลุ่มที่เริ่มมาด้วยอาการน้อย ปานกลางหรือมาก และระดับของ NT แม้ว่าจะสูงมากก็ตาม ตั้งแต่วันแรกที่เข้า รพ ไม่ได้ยับยั้งการดำเนินของโรค ทีบางรายพัฒนาไปเป็นอาการหนัก คล้องจองกับผลการใช้ น้ำเหลืองจากคนที่หายแล้วมารักษาคนที่ติดเชื้อพบว่าสามารถลดจำนวนของไวรัสได้เป็นเวลาสั้นๆเท่านั้น และไม่ช่วยในการรักษา โดยที่ทาง รพ ไม่ได้พิจารณานำมาใช้
การตรวจ IgM อย่างเดียว โดยไม่ตรวจ IgG โดยคิดว่า IgM จะหายไป หลังจาก ติดเชื้อ 7-10 วัน ไม่เป็นความจริง เพราะสามารถ ทอดนานไปได้ 32 วัน จนไวรัสหมดแล้ว (รายงานจากที่ต่างๆ จะนานเป็นเดือน)
แอนติบอดีจะขึ้นให้ตรวจพบได้ ตั้งแต่วันที่สี่ ถึง6 หลังจากวันที่ได้รับเชื้อ และอาจจะพบได้ตั้งแต่ก่อนที่มีอาการ และเริ่มมีการแพร่เชื้อแล้ว เป็นpresymptomatic phase หรือ สามารถที่จะพบได้หลังจากที่เริ่มพ้นระยะฟักตัว และเริ่มมีอาการ
ในโควิด 19 คนติดเชื้อที่เป็นหนุ่มสาวแข็งแรง มักมีอาการน้อยและกลายเป็นตัวแพร่ ทำให้การตรวจแอนตี้บอดี้ช่วยกับการตรวจด้วยPCR โดยเป็นscreening ที่รวดเร็ว
การใช้การหาแอนติบอดีเข้ามาร่วม จะทำให้การจำกัดการแพร่กระจายมีความรัดกุมและสะดวกมากขึ้นพร้อมทั้งรับทราบสถานการณ์รุนแรงมากน้อยเท่าใดในการกระจายตัว และยังป้องกันการระบาดในโรงพยาบาล
การตรวจมาตรฐานโดยวิธี ELISA ของศูนย์โรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์จุฬา แม้แม่นยำ 100% แต่ยังไม่ว่องไวพอ เพราะต้องใช้เวลา 3 ชั่วโมง
การทดสอบ rapid test คือชุดตรวจเลือดจากปลายนิ้ว strip test ทางจุฬา ใบยา โดยดร วรัญญู พูลเจริญ และ ภญ ดร สุธีรา เตชคุณวุฒิ ได้เทียบเคียงกับวิธีการตรวจแอนติบอดี ELISA ที่ทางศูนย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (ร่วมมือกับ สิงคโปร์ Duke NUS ) โดยทดสอบในคนไทยปกติที่บริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตสภากาชาดไทย 200 รายก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อประเมินว่าระดับใดถือเป็นไม่ปกติ (cutoff limit)ทั้งนี้เนื่องจากคนไทยอาจจะได้รับสัมผัสกับค้างคาว มากกว่าคนที่สิงคโปร์และจากนั้นจึงได้ทดสอบในคนที่ติดเชื้อจริง และพบว่าการตรวจทั้ง สองแบบ มีความแม่นยำพอ
โดยถ้าได้ผลบวกควรต้องตรวจต่อด้วยวิธี PCR แต่ในกรณีที่ได้ผลลบ แต่มีลักษณะต้องสงสัยควรต้องมีการตรวจซ้ำหลังจากนั้นอีกสามถึง 5 วันเนื่องจากแอนติบอดีอาจยังไม่ขึ้น เพราะได้รับสัมผัสโรคมาหมาดๆ
อนึ่ง โปรตีนที่ใช้ในการตรวจของชุดตรวจว่องไวปลายนิ้วนี้ ได้จากใบยา ที่กำหนดให้สร้างโปรตีนที่ประสงค์ ที่ใช้เป็น receptor binding protein ของไวรัส โควิด 19 (เช่นเดียวกับชุดตรวจ ELISA) ที่สามารถทำได้มากตามความต้องการขึ้นอยู่กับการปลูกพืชมากน้อยเท่าใด
ถึงเวลาแล้วที่ต้องใช้ rapid test ในมาตรการ ระลอก 2 ทีเกิดขึ้นขณะนี้
ตรวจจบใน 2 นาที ถ้า บวกแยกตัว ทันที ตามด้วยแยงจมูก PCR เพราะ มีแอนติบอดี บอกว่ามีติดเชื้อ แต่อาจติดนานเป็นเดือนแล้วหายแล้ว หรือกำลังติด กำลังปล่อยเขื้อ จึงต้องกักตัวและหาว่า ปล่อยเขื้อได้หรือไม่
Total Page Visits: 1659 - Today Page Visits: 1